ชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)ก่อตั้งขึ้นพร้อมๆกับการก่อตั้งของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นชมรมฯที่เป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งของ “วิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย” การเขียนประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)จึงจำเป็นต้องเขียนไปพร้อมๆกับประวัติการก่อตั้งราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งก่อกำเนิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแพทย์ที่มีความสนใจร่วมกันทางด้านศัลยกรรมในประเทศไทย
การเขียนประวัติความเป็นมาทั้งของชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)และของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยครั้งนี้มิได้เขียนตำแหน่งวิชาการของอาจารย์อาวุโสที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อตั้งองค์กรทั้งสอง ได้เขียนคำนำหน้าชื่อทุกท่านว่า “นายแพทย์” เท่านั้น ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเป็นการลดทอนเกียรติภูมิของอาจารย์อาวุโส แต่เป็นเพราะหลักฐานต่างๆที่มีบันทึกไว้ล้วนแต่เขียนคำนำหน้าชื่อของอาจารย์อาวุโสทุกท่านว่า “นายแพทย์” ยกเว้นแต่ท่านที่มียศทางราชการทหารที่ปรากฏยศนำหน้าชื่อ เป็นการยากลำบากที่จะสืบค้นย้อนหลังไปร่วม 40-50 ปีเพื่อค้นหาตำแหน่งวิชาการของท่านอาจารย์อาวุโสทุกท่านในขณะนั้น การจะให้เกียรติอาจารย์อาวุโสทุกท่านโดยการใส่คำนำหน้าชื่อว่า “ศาสตราจารย์” หมดทุกท่านก็จะมีคนโต้แย้งว่าอาจารย์อาวุโสบางท่านไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ ในบางครั้งที่หลักฐานที่ค้นได้ปรากฏแน่ชัดถึงตำแหน่งวิชาการของท่านผู้เกี่ยวข้อง(เช่นนายกแพทยสภา)ก็จะเขียนระบุตำแหน่งวิชาการไว้ให้
วิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
“…การจัดตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์นั้นก็เพื่อให้เมืองไทยมีวิทยาลัยของตนเองซึ่งต้องมีลักษณะเฉพาะของคนไทย เป็นผู้แทนศัลยแพทย์ไทยในต่างประเทศ มีความอิสรเสรีภาพ มีศัลยแพทย์ไทยเป็นผู้ดำเนินการ…” (ศ.นพ.อุดม โปษะกฤษณะ ประธานวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยคนแรก)
แม้ว่าประเทศไทยได้ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์และผลิตแพทย์ออกไปรับใช้สังคมมานาน แต่การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางยังไม่เกิดขึ้น ในระยะแรกๆแพทย์ไทยเรียนรู้จากแพทย์เฉพาะทางชาวต่างประเทศที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทยและได้หาโอกาสไปศึกษาเพิ่มเติมยังต่างประเทศ
จากการริเริ่มและชักนำของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก “พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย” มูลมิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในประเทศไทยได้ช่วยให้แพทย์ไทยได้ไปศึกษาและฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทาง ณ.ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เมื่อศัลยแพทย์เหล่านี้เดินทางกลับมายังประเทศไทยก็ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์สู่แพทย์รุ่นหลังแต่ยังไม่มีการฝึกอบรมเป็นแบบแผนที่ชัดเจน บรรดาศัลยแพทย์ผู้ได้ผ่านการศึกษาฝึกอบรมและดูงานในต่างประเทศเหล่านี้เมื่อกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยจะต้องสอบเป็นผู้เชี่ยวชาญต่อกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ได้รับการรับรองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยศาสตร์ โดยมีคณะอนุกรรมการสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบการสอบ
ระยะต่อมาคณะอนุกรรมการสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ได้มีความเห็นว่าประเทศไทยควรจะได้จัดให้มีการฝึกอบรมด้านศัลยศาสตร์ขึ้นเองให้เป็นที่รับรองโดยทั่วไปและได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์ขึ้นสำเร็จในปี พ.ศ.2515 กำหนดให้ใช้ระยะเวลาในการศึกษาและฝึกอบรม 3 ปี โดยพิจารณาว่าเหมาะสมและแก้ปัญหาการขาดแคลนศัลยแพทย์ในประเทศไทยในสมัยนั้น
27 กรกฎาคม พ.ศ.2515 คณะอนุกรรมการสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ได้ประชุมกัน ณ.ตึกอำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีคณะอนุกรรมการฯเข้าร่วมประชุม 20 ท่าน ได้มีการพิจารณาถึงการจัดตั้งสมาคมของศัลยแพทย์และมีมติเอกฉันท์ให้ก่อตั้งองค์กรของศัลยแพทย์ในรูปแบบวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้แพทยสภา การจัดตั้งให้อยู่ในกรอบของแพทยสภาก็เพื่อทำให้วิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ทุกแขนงในขณะนั้นซึ่งมีรวม 47 ท่านเป็นกรรมการริเริ่มในการก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ในกรรมการริเริ่ม 47 ท่านนี้มีนายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์เป็นตัวแทนของกลุ่มศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
29 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 กรรมการริเริ่มมีมติให้นำร่างกฎข้อบังคับของวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยเสนอต่อแพทยสภาเพื่อดำเนินการก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
12 มีนาคม พ.ศ.2516 กรรมการริเริ่มได้พิจารณาแก้ไขร่างกฎข้อบังคับของวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยตามข้อเสนอของแพทยสภาโดยแพทยสภาเสนอว่าจะต้องมีรายชื่อสมาชิกก่อตั้งจำนวนหนึ่งที่นอกเหนือจากกรรมการริเริ่ม 47 ท่านเพื่อเป็น “กลุ่มผู้เริ่มการจัดตั้งวิทยาลัย” ครั้งนั้นกรรมการริเริ่มมีมติเลือกสมาชิกก่อตั้งจำนวน 100 ท่านซึ่งล้วนเป็นศัลยแพทย์ที่เป็นที่นับถือในวงการศัลยแพทย์และวงการแพทย์แต่เมื่อถึงเวลาเสนอจริงต่อแพทยสภาได้เสนอรายชื่อ “กลุ่มผู้เริ่มการจัดตั้งวิทยาลัย” 121 ท่านเนื่องจากผลการลงคะแนนผู้ได้ลำดับที่ 100 มีคะแนนเท่ากันจำนวนมาก
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 มีการประชุมครั้งแรกของกรรมการริเริ่มกับกลุ่มผู้เริ่มการจัดตั้งวิทยาลัยที่ห้องประชุมแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่ประชุมได้รับรองรายชื่อสมาชิกก่อตั้งที่ตอบรับมารวมทั้งหมด 116 ท่านและได้เลือกตั้งกรรมการบริหารชั่วคราวเสนอต่อแพทยสภา การพิจารณาของแพทยสภายืดเยื้อเป็นเวลา 2 ปี มีการสอบถามทบทวนความเข้าใจหลายครั้งระหว่างแพทยสภากับคณะกรรมการริเริ่ม
12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 ศ.นพ.ประกอบ ตู้จินดา นายกแพทยสภาในสมัยนั้นได้ลงนามประกาศข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 92 ตอนที่ 99 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2518 หน้า 1-9 (ฉบับพิเศษ)และได้แต่งตั้งคณะผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดำเนินการเลือกตั้งคณะผู้บริหารวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยต่อไป รายนามคณะผู้บริหารชั่วคราวในครั้งนั้นมีดังนี้
นพ.อุดม โปษะกฤษณะ | ประธาน |
นพ.เสม พริ้มพวงแก้ว | รองประธาน |
นพ.จรัส สุวรรณเวลา | เลขาธิการ |
พอ.นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ | รองเลขาธิการ |
นพ.รุ่งธรรม ลัดพลี | เหรัญญิก |
นพ.คง สุวรรณรัต | กรรมการกลาง |
พล.ร.ท.นพ.ลักษณ์ บุญศิริ | กรรมการกลาง |
นพ.จินดา สุวรรณรักษ์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ทั่วไป |
นพ.มรว.ธัญโสภาคย์ เกษมสันต์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ |
นพ.หทัย ชิตานนท์ | ผู้แทนกลุ่มประสาทศัลยศาสตร์ |
นพ.สุจินต์ ผลากรกุล | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ยูโร |
นพ.กำพล ประจวบเหมาะ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ทรวงอก |
นพ.ลิ้ม คุณวิศาล | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ตกแต่ง |
นพ.เกษม จิตรปฏิมา | ผู้แทนกลุ่มกุมารศัลยศาสตร์ |
นพ.เฉลี่ย วัชรพุกก์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก |
ในครั้งนั้นวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยมีสมาชิกสามัญเพิ่มเป็น 299 คน ผลการเลือกตั้งคณะผู้บริหารวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยชุดที่ 1 (วาระ 2518-2520) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2518 มีดังนี้
นพ.อุดม โปษะกฤษณะ | ประธาน |
นพ.เสม พริ้มพวงแก้ว | รองประธาน |
นพ.จรัส สุวรรณเวลา | เลขาธิการ |
พอ.นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ | รองเลขาธิการ |
นพ.รุ่งธรรม ลัดพลี | เหรัญญิก |
นพ.คง สุวรรณรัต | กรรมการกลาง |
นพ.ลิ้ม คุณวิศาล | กรรมการกลาง |
นพ.ประเสริฐ นุตกูล | กรรมการกลาง |
นพ.จินดา สุวรรณรักษ์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ทั่วไป |
นพ.นที รักษ์พลเมือง | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ |
นพ.วิชัย บำรุงผล | ผู้แทนกลุ่มประสาทศัลยศาสตร์ |
นพ.สัมพันธ์ ตันติวงษ์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ยูโร |
นพ.กำพล ประจวบเหมาะ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ทรวงอก |
นพ.ถาวร จรูญสมิทธ์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ตกแต่ง |
นพ.เกษม จิตรปฏิมา | ผู้แทนกลุ่มกุมารศัลยศาสตร์ |
นพ.เฉลี่ย วัชรพุกก์ | ผู้แทนกลุ่มศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก |
ถือได้ว่ากลุ่มศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นกลุ่มร่วมก่อตั้ง “วิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย”
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะผู้บริหารวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยชุดที่ 1 ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2520 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อให้วิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และให้ได้รับพระราชทานนาม “ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย” โดยมุ่งยกระดับมาตรฐานด้านวิชาการศัลยศาสตร์และการบริการทางศัลยกรรม ได้ก่อตั้งโครงการศัลยแพทย์อาสาเพื่อช่วยเหลือประชากรผู้ยากไร้ในท้องถิ่นทุรกันดาร ได้ประกาศโครงการศัลยแพทย์อาสายามฉุกเฉินของวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2520
วิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2525
ชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)
ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.ใดเพราะชมรมคือ “กลุ่มคนที่มีความสนใจและเป้าประสงค์ร่วมกัน” การก่อตั้งชมรมฯไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดทะเบียนและไม่ถือเป็นนิติบุคคล มีแต่ข้อแนะนำว่าควรจะมีระเบียบข้อบังคับของชมรมฯ มีการเลือกตั้งคณะผู้บริหารตามระเบียบข้อบังคับ มีการรับและมีทะเบียนสมาชิก โดยกฎหมายชมรมฯจึงสามารถก่อตั้งเมื่อไรก็ได้ ถ้ายึดหลักนี้สามารถถือได้ว่าชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)ก่อตั้งมาก่อนการตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยโดยอาศัยหลักฐานว่ามีตัวแทนกลุ่มศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยรวมถึงมีการสอบเพื่ออนุมัติบัตรสาขาศัลยศาสตร์ทวารหนัก(ชื่อในสมัยนั้น)มาก่อนการก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
หลักฐานที่มีอยู่ ณ.ปัจจุบันพบว่าชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)มี “ข้อบังคับชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)” ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2540 ชี้บ่งว่าชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)ต้องก่อตั้งก่อนปี พ.ศ.2540
แต่เดิมประเทศไทยมีเพียงการสอบเพื่อ “อนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ทวารหนัก”(ชื่อในสมัยนั้น) การเปิดสถาบันฝึกอบรมเพื่อหนังสือ “วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” ในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2544 โดยครั้งนั้นมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมรุ่นแรก 3 คน (เข้ารับการฝึกอบรม พ.ศ.2544 และจบการฝึกอบรมในปี พ.ศ. 2545, หลักสูตร 1 ปี)คือนายแพทย์ต้น คงเป็นสุข(วุฒิบัตรฯ), นายแพทย์ธีรสันต์ ตันติเตมิท(อนุมัติบัตรฯ) และนายแพทย์ยงสรร วงศ์วิวัฒน์เสรี(อนุมัติบัตรฯ) สาเหตุที่ฝึกอบรมพร้อมกัน หลักสูตรเดียวกัน ระยะเวลาฝึกอบรมเท่ากัน แต่หนังสือรับรองต่างกันเป็นเพราะศักยภาพการฝึกอบรมของจุฬาฯในสมัยนั้นมีเพียงตำแหน่งเดียวจึงต้องใช้วิธีจับสลากว่าใครจะเข้าสอบเพื่อหนังสือวุฒิบัตรฯ ที่เหลือจึงเป็นหนังสืออนุมัติบัตรฯ
ชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)มีการเปิดบัญชีในนามชมรมฯเล่มแรกเป็นบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน) สาขารามาธิบดี เปิดบัญชีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 เพื่อเก็บรักษารายได้ของชมรมฯจากการจัดประชุมวิชาการ
ทำเนียบประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย)
วาระ (พ.ศ.) | |
นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ | ประธานกลุ่มผู้ริเริ่ม |
นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ | 2518-2520 |
นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ | 2520-2522 |
นายแพทย์วิศิษฎ์ จิตวัฒน์ | 2522-2524 |
นายแพทย์วิศิษฎ์ จิตวัฒน์ | 2524-2526 |
นายแพทย์วิศิษฎ์ จิตวัฒน์ | 2526-2528 |
นายแพทย์ยอด สุคนธมาน | 2528-2530 |
นายแพทย์ยอด สุคนธมาน | 2530-2532 |
นายแพทย์วิทยา วัฒโนภาส | 2532-2534 |
นายแพทย์ไพบูลย์ โชติประสิทธิ์ | 2534-2536 |
นายแพทย์พิเชฎฐ์ อินทุสร | 2536-2538 |
นายแพทย์พิเชฎฐ์ อินทุสร | 2538-2540 |
นายแพทย์ธนิต วัชรพุกก์ | 2540-2542 |
นายแพทย์ดรินทร์ โล่ห์สิริวัฒน์ | 2542-2544 |
นายแพทย์ดรินทร์ โล่ห์สิริวัฒน์ | 2544-2546 |
นายแพทย์อรุณ โรจนสกุล | 2546-2548 |
นายแพทย์ปริญญา ทวีชัยการ | 2548-2550 |
นายแพทย์ปริญญา ทวีชัยการ | 2550-2552 |
นายแพทย์จักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ์ | 2552-2554 |
นายแพทย์จักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ์ | 2554-2556 |
นายแพทย์ไพศิษฎ์ ศิริวิทยากร | 2556-2558 |
นายแพทย์ไพศิษฎ์ ศิริวิทยากร | 2558-2560 |
นายแพทย์นพดนัย ชัยสมบูรณ์ | 2560-2562 |
นับถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2561 ชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(ประเทศไทย) มีสมาชิก 200 คน มีผู้ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมีผู้ได้รับอนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 75 คน
ไพศิษฎ์ ศิริวิทยากร (ผู้เรียบเรียงและบันทึก)
เพิ่มเติมทำเนียบประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย)
วาระ (พ.ศ.) | |
นายแพทย์จิรวัฒน์ พัฒนอรุณ | 2562-2564 |
นายแพทย์จิรวัฒน์ พัฒนอรุณ | 2564-2566 |
นายแพทย์บุญชัย งามสิริมาศ | 2566-2567 |
ในปี พ.ศ.2566 – 2567 ทางชมรมฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยเปลี่ยนจากชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) เป็นสมาคมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) โดยมีการจัดตั้งสมาคมฯ ในวันที่ 25 มกราคม 2567 โดยมีคณะกรรมการจัดตั้งดังนี้
บุญชัย งามสิริมาศ (ผู้เรียบเรียงเพิ่มเติม)